วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

น้ำยางที่ได้จากการทดลอง




น้ำยางแข็งตัวที่ได้จากการใช้น้ำส้มฆ่ายาง




 
                                         
 น้ำยางแข็งตัวที่ได้จากการใช้น้ำที่คั่นจากใบเงาะ





                                       
น้ำยางแข็งตัวที่ได้จากการใช้น้ำส้มตะโหนด

วัสดุที่ใช้ในการทดลอง




น้ำยางพารา



 


น้ำที่คั่นจากใบเงาะ 





 
น้ำส้มตะโหนด






 
น้ำส้มฆ่ายาง
 
 
 
 
 



วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คำแนะนำสำหรับผู้ปลุกยางใหม่

คำแนะนำสำหรับผู้ปลุกยางใหม่



ข้อควรคำนึงสำหรับผู้เริ่มปลูกยาง 

1. ควรเตรียมพื้นที่ กำหนดระยะปลูก และเตรียมหลุมปลูกให้เสร็จเรียบร้อยภายในเดือนมีนาคม หรือต้นเดือนเมษายน 
2. ควรปลูกยางตั้งแต่ต้นฤดูฝน สำหรับผู้ที่ใช้ต้อตอตาปลูกควรปลูกให้เสร็จภายในเดือนพฤษภาคม แต่ถ้าใช้ยางชำถุงปลูก อาจยีดเวลาออกไปได้บางเล็กน้อย อย่างไรก็ตามควรปลูกให้เสร็จภายในเดือนมิถุนายน 
3. ในพื้นที่แห้งแล้ง ก่อนเข้าฤดูแล้งขณะที่ดินยังชื้นอยู่ควรใช้วัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ฟางข้าว หรือเศษวัชพืชคลุมโคนต้นยางเพื่อรักษาความชื้นของดิน 
4. ควรตัดแต่งกิ่งแขนงข้างเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น ไม่ควรตัดในฤดูแล้ง การตัดแต่งกิ่งอย่าโน้มต้นยางลงมาตัดเพราะจะทำให้ส่วนของลำต้นเสียหาย 
5. เมื่อปลูกพืชแซมครบ 3 ปีแล้วต้องหยุดปลูก และปลูกพืชคลุมแทนทันที 
6. หมั่นดูแลบำรุงรักษาสวนยางตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะในฤดูแล้งควรกำจัดวัชพืช ในสวนยาง เพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้สวนยาง 
ปฎิทินการปลูกสร้างและดูแลรักษาสวนยางพารา 
 
หากเกษตรกรชาวสวนยาง มีปัญหาในการประกอบอาชีพการทำสวนยาง โปรดสอบถามหรือขอคำปรึกษาแนะนำได้ที่ 
- เกษตรตำบล 
- เกษตรอำเภอ 
- เกษตรจังหวัด 
ที่ประจำปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ที่สวนยางหรือบ้านเรือนของท่านตั้งอยู่ หรืออาจสอบถามโดยตรงไปที่กลุ่มยางพารา กองส่งเสริมพืชสวนกรมส่งเสริมการเกษตร ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ (02) 5793801 


อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.doae.go.th/

อุปกรณ์สวนยางพารา

มีดกรีดยาง ตรา สามห่วง มี 3 รุ่น
เบอร์ 1 สีส้ม ราคา/โหล 1224 บาท
เบอร์ 2 สีส้ม ราคา/โหล 924 บาท
ด้ามใหญ่สีเหลือง ราคา/โหล 1020 บาท






มีกรีดยาง ตรา 999
มีขนาดเดียว เบอร์ 1 ราคา/โหล 1020 บาท




ถังน้ำสำหรับเก็บน้ำยาง
เบอร์ 1 ราคา/ใบ 126 บาท
เบอร์2 ราคา/ใบ 114 บาท
เบอร์3 ราคา/ใบ 102 บาท
เบอร์4 ราคา/ใบ 96 บาท





ลวดรัดต้นยาง
แบบซิกแซก มัดละ 100 เส้น
เบอร์14 ราคา/เส้น 2.52 บาท
เบอร์13 ราคา/เส้น 3.24 บาท



ลวดวงกลม/สปริง ขนาด 4 นิ้ว 
สปริง 2 นิ้ว ราคา/เส้น 2.82 บาท
สปริง 2.5 นิ้ว ราคา/เส้น 3.12 บาท



ไม้กวาดน้ำยาง ของแท้จากยะลา ทำมาจากยางรถยนต์ แท้ 100%
ไม้กวาดน้ำยาง ราคา/โหล 204 บาท



ถ้วยรับน้ำยาง (ขนาด 16,18,20
ขนาด 16 ออน ราคา/ใบ 2.64 บาท บรรจุกระสอบ 200 ใบ
ขนาด 18 ออน ราคา/ใบ 3 บาท บรรจุกระสอบ 100 ใบ
ขนาด 20 ออน ราคา/ใบ 3.6 บาท บรรจุกระสอบ 100 ใบ




ช้อนยาง
ขนาดมาตรฐาน 3 นิ้ว เกรด A
ขายเป็นกิโล กิโล/บาท 52.8 บาท
ขายเป็นกระสอบ ๆ 30 กก. กิโล/บาท 45.6 บาท
ช้อนยางมัด
ช้อนยางมัด 2.5 นิ้ว ราคา/ห่อ 174 บาท (ลังละ 25 มัด)
ช้อนยางมัด 3 นิ้ว ราคา/ห่อ 300 บาท (ลังละ 25 มัด)






สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อ  


โทร  083-2959695

CR. http://www.yangparatrang.com/2012/07/blog-post_20.html

โรคยางพารา

โรคยางพาราที่เกิดจากเชื้อ

1.โรคใบ

  1. โรคใบจุดตานก
  2. โรคใบจุดคอลเลโทตริกัม
  3. โรคใบจุดก้างปลา
  4. โรคราแป้ง
  5. โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า

2.โรคกิ่งก้าน และลำต้น

  1. โรครากขาว
  2. โรครากแดง
  3. โรครากน้ำตาล
Cr. http://www.yangparatrang.com/2012/05/blog-post_2822.html

การผลิตและการใช้ยางของจีน

การผลิตและการใช้ยางของจีน
        สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศผู้ผลิตยางอันดับ 5 ของโลกในปี 2547 มีพื้นที่ปลูกยาง 660,000 เฮกตาร์ ผลิตยางได้ประมาณ 600,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย ทั้งประเทศเป็น 1,400 ตันต่อเฮกตาร์ หรือประมาณ 220 กิโลกรัมต่อไร่ พื้นที่ปลูกยางส่วนใหญ่ร้อยละ 65 เป็นสวนยางของรัฐ พื้นที่ปลูกยางของจีนมีอยู่ใน 5 มณฑลคือ มณฑลไฺฮนาน มณฑลยูนนาน มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางสี และมณฑลฟูเจี้ยน
จีนมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงมาก ร้อยละ 9-9.5 จึงมีความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น จากข้อมูลที่ได้รับจากผู้บริหารของบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตยางของยูนนาน กล่าวว่าในปี 2547 ปริมาณการใช้ยางของจีนเพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านตันในปี 2545 เป็น 1.8 ล้านตัน ในปี 2547 ต้องนำเข้ายางประมาณ 1.2 ล้านตัน โดยร้อยละ 80 เป็นการนำเข้ายางจากไทย ในขณะที่จีนมีปริมาณการผลิตยางของประเทศ
ประมาณ 600,000 ตัน อุตสาหกรรมยางยานพาหนะของจีนเป็นภาคที่ใช้ยางธรรมชาติมากที่สุดถึงร้อยละ 55 ของปริมาณยางธรรมชาติที่ใช้ในประเทศทั้งหมด มีโรงงานผลิตยางรถยนต์ขนาดใหญ่ ในจีนกว่า 20 บริษัท มีทั้งที่เป็นบริษัทข้ามชาติ บริษัทของจีนและการร่วมลงทุนของบริษัทยางรถยนต์ต่างชาติกับบริษัทยางของ จีน อุตสาหกรรมรถยนต์ของจีนขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2545 ที่ผลิตรถยนต์ได้ 3.2 ล้านคัน เพิ่มเป็นประมาณ 5 ล้านคันค่อปี แต่คาดว่าในปัจจุบันที่ภาวะน้ำมันสูงขึ้นในอนาคตกำลังการผลิตรถยนต์จะลดลง เหลือ 1 ล้านคันต่อปี เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางเป็นอุตสาหกรรมที่ทำให้เศรษฐกิจของจีนขยาย ตัวอย่างรวดเร็ว จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ความต้องการใช้ยางของจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนมีการคาดการณ์ว่าในปี 2563 จีนจะใช้ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์รวมทั้งสิ้น 7.3 ล้านตัน และการใช้ยางของจีนจะเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของการใช้ยางทั้งหมดของโลก แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวยต่อการปลูกยางของจีน ปัญหาจากลมไต้ฝุ่น อากาศหนาวเย็นและความแห้งแล้ง ทำให้จีนไม่สามารถขยายพื้่นที่ปลูกยางในประเทศได้ รัฐบาลจีนมีนโยบายเพิ่มพื้นที่ปลูกยางในประเทศเพื่อนบ้านอีก 10,000 เฮกตาร์ หรือ 625,000 ไร่ ในประเทศลาว ประเทศพม่า และประเทศกัมพูชา ปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ปลูกยาง 100 เฮกตาร์ หรือ 625 ไร่ ทางตอนเหนือของลาว 3 จังหวัด สวนยางเปิดกรีดแล้ว 4 ปี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทอุตสหกรรมยางธรรมชาติของยูนนาน และบริษัทมีนโยบายลงทุน 10 ล้านหยวนหรือ 55 ล้านบาท เืพื่อพัฒนาโครงการผลิตยางในลาวในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย
ในภาวะที่ราคายางสูงขึ้นเกษตรกรหันมาปลูกยางมากขึ้น โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการโค่นต้นยางและปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนในช่วงที่ราคา ยางตกต่ำ อย่างไรก็ตามไฮนานยังมีพื้นที่ที่จะขยายการปลูกยางได้อีกประมาณ 300,000 ไร่ แต่เนื่องจากไฮนานอยุ่ในเขตที่มีสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกยาง ดังนั้นความสามารถในการเพิ่มผลผลิตคงเป็นไปได้ค่อนข้างจำกัด

Cr http://www.yangparatrang.com/2012/09/blog-post.html

อนาคตยางพาราไทย ภายใต้ AEC เลิกกองทุนสงเคราะห์สวนยาง ?

ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษา การค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอ การค้าไทยได้เสนอแนะนโยบายเร่งด่วนเพื่อพัฒนายางพาราไทย ภายใต้ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนและอาเซียน +3 (เกาหลี ใต้ ญี่ปุ่น และจีน) โดยให้ไทยเป็นศูนย์ กลางยางพารา (HUB) เนื่องจากว่าไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ซึ่งเป็นจุดแข็งในการสร้างอำนาจ ต่อรองและเป็นผู้กำหนดราคา อีกทั้งยังจะทำให้ไทยเป็นศูนย์ กลางในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำของยางพาราและอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม จากการแปรรูปยางพาราอีกทางหนึ่งด้วย รัฐต้องปล่อยให้ราคายางเป็นไปตามกลไกตลาดไม่แทรกแซง แต่ควรหันไปส่งเสริมอุตสาหกรรมปลายน้ำและการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ยาง ต่างๆเพื่อช่วยแก้ปัญหาทั้งราคาและการพึ่งพิงตลาดต่างประเทศ อีกทั้งจะต้องเร่งการจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทย ด้วยการยก ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยให้ยกเลิกกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง และองค์การสวนยางและให้จัดตั้ง การยางแห่งประเทศไทย เพื่อทาหน้าที่บริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร

อีกส่วนหนึ่งคือต้องเร่งพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือ AFET ให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นแหล่งรองรับสินค้าในราคายุติธรรม สร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับเกษตรกร และรัฐควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหาตลาดใหม่ๆ เพิ่มเติมเช่นตลาดในกลุ่ม BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) ซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างสัดส่วนการใช้ประโยชน์ในประเทศให้สูง ขึ้น ด้วยการลงทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ การแข่งขันให้เกิดการใช้ยางในประเทศ เพิ่มขึ้น ลดความเสี่ยงในการส่งออก คิด ค้นและพัฒนาผลผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น เช่น การพัฒนาวัตถุดิบ ยางไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ซึ่งเป็นนวัตกรรม แบบก้าวกระโดด (Radical Innovation) เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสาอางจากสารสกัดเปลือกไม้ยางพารา เป็นต้น

ปัจจุบันจีนนับเป็นประเทศผู้ใช้ยางพารารายใหญ่ที่สุดในโลก เฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 32.23 ของปริมาณการใช้ยางพาราของทั้งโลก 60% เป็นการ ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2553 จีนผลิตรถยนต์ 18.26 ล้านคัน ปี 2554 ผลิต รถยนต์ 18.42 ล้านคันเป็นอันดับ 1 ของโลก มณฑลที่นำเข้ายางพารามากที่สุดคือ ชานตง ซึ่งเป็นศูนย์กลางผลิตยางรถ ยนต์และอุตสาหกรรมแปรรูปยางที่สำคัญของจีน

ขณะที่พื้นที่ปลูกยางของไทยอินโดนีเซียและมาเลเซียมีมากกว่า 60% ของ โลก แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกยางมาเลเซียลดลงเพราะหันไปปลูกปาล์มแทน ถึงกระนั้นตั้งแต่ปี 2549-2554 พื้นที่ปลูกยางโลกก็เพิ่มขึ้น 14.26% เฉลี่ยปีละ 2.71% กลุ่มการศึกษายางระหว่างประเทศ (International Rubber Study Group : IRSG) ศึกษาพบว่าในอนาคตประเทศผู้ผลิตยาง ไทยและมาเลเซียสนใจปลูกยางในประเทศ อื่น เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เพราะที่ดินใน ประเทศไม่เพียงพอ

ที่มา : สยามธุรกิจ