วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

น้ำยางที่ได้จากการทดลอง




น้ำยางแข็งตัวที่ได้จากการใช้น้ำส้มฆ่ายาง




 
                                         
 น้ำยางแข็งตัวที่ได้จากการใช้น้ำที่คั่นจากใบเงาะ





                                       
น้ำยางแข็งตัวที่ได้จากการใช้น้ำส้มตะโหนด

วัสดุที่ใช้ในการทดลอง




น้ำยางพารา



 


น้ำที่คั่นจากใบเงาะ 





 
น้ำส้มตะโหนด






 
น้ำส้มฆ่ายาง
 
 
 
 
 



วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

คำแนะนำสำหรับผู้ปลุกยางใหม่

คำแนะนำสำหรับผู้ปลุกยางใหม่



ข้อควรคำนึงสำหรับผู้เริ่มปลูกยาง 

1. ควรเตรียมพื้นที่ กำหนดระยะปลูก และเตรียมหลุมปลูกให้เสร็จเรียบร้อยภายในเดือนมีนาคม หรือต้นเดือนเมษายน 
2. ควรปลูกยางตั้งแต่ต้นฤดูฝน สำหรับผู้ที่ใช้ต้อตอตาปลูกควรปลูกให้เสร็จภายในเดือนพฤษภาคม แต่ถ้าใช้ยางชำถุงปลูก อาจยีดเวลาออกไปได้บางเล็กน้อย อย่างไรก็ตามควรปลูกให้เสร็จภายในเดือนมิถุนายน 
3. ในพื้นที่แห้งแล้ง ก่อนเข้าฤดูแล้งขณะที่ดินยังชื้นอยู่ควรใช้วัสดุ เช่น หญ้าแห้ง ฟางข้าว หรือเศษวัชพืชคลุมโคนต้นยางเพื่อรักษาความชื้นของดิน 
4. ควรตัดแต่งกิ่งแขนงข้างเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น ไม่ควรตัดในฤดูแล้ง การตัดแต่งกิ่งอย่าโน้มต้นยางลงมาตัดเพราะจะทำให้ส่วนของลำต้นเสียหาย 
5. เมื่อปลูกพืชแซมครบ 3 ปีแล้วต้องหยุดปลูก และปลูกพืชคลุมแทนทันที 
6. หมั่นดูแลบำรุงรักษาสวนยางตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะในฤดูแล้งควรกำจัดวัชพืช ในสวนยาง เพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้สวนยาง 
ปฎิทินการปลูกสร้างและดูแลรักษาสวนยางพารา 
 
หากเกษตรกรชาวสวนยาง มีปัญหาในการประกอบอาชีพการทำสวนยาง โปรดสอบถามหรือขอคำปรึกษาแนะนำได้ที่ 
- เกษตรตำบล 
- เกษตรอำเภอ 
- เกษตรจังหวัด 
ที่ประจำปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ที่สวนยางหรือบ้านเรือนของท่านตั้งอยู่ หรืออาจสอบถามโดยตรงไปที่กลุ่มยางพารา กองส่งเสริมพืชสวนกรมส่งเสริมการเกษตร ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ (02) 5793801 


อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.doae.go.th/

อุปกรณ์สวนยางพารา

มีดกรีดยาง ตรา สามห่วง มี 3 รุ่น
เบอร์ 1 สีส้ม ราคา/โหล 1224 บาท
เบอร์ 2 สีส้ม ราคา/โหล 924 บาท
ด้ามใหญ่สีเหลือง ราคา/โหล 1020 บาท






มีกรีดยาง ตรา 999
มีขนาดเดียว เบอร์ 1 ราคา/โหล 1020 บาท




ถังน้ำสำหรับเก็บน้ำยาง
เบอร์ 1 ราคา/ใบ 126 บาท
เบอร์2 ราคา/ใบ 114 บาท
เบอร์3 ราคา/ใบ 102 บาท
เบอร์4 ราคา/ใบ 96 บาท





ลวดรัดต้นยาง
แบบซิกแซก มัดละ 100 เส้น
เบอร์14 ราคา/เส้น 2.52 บาท
เบอร์13 ราคา/เส้น 3.24 บาท



ลวดวงกลม/สปริง ขนาด 4 นิ้ว 
สปริง 2 นิ้ว ราคา/เส้น 2.82 บาท
สปริง 2.5 นิ้ว ราคา/เส้น 3.12 บาท



ไม้กวาดน้ำยาง ของแท้จากยะลา ทำมาจากยางรถยนต์ แท้ 100%
ไม้กวาดน้ำยาง ราคา/โหล 204 บาท



ถ้วยรับน้ำยาง (ขนาด 16,18,20
ขนาด 16 ออน ราคา/ใบ 2.64 บาท บรรจุกระสอบ 200 ใบ
ขนาด 18 ออน ราคา/ใบ 3 บาท บรรจุกระสอบ 100 ใบ
ขนาด 20 ออน ราคา/ใบ 3.6 บาท บรรจุกระสอบ 100 ใบ




ช้อนยาง
ขนาดมาตรฐาน 3 นิ้ว เกรด A
ขายเป็นกิโล กิโล/บาท 52.8 บาท
ขายเป็นกระสอบ ๆ 30 กก. กิโล/บาท 45.6 บาท
ช้อนยางมัด
ช้อนยางมัด 2.5 นิ้ว ราคา/ห่อ 174 บาท (ลังละ 25 มัด)
ช้อนยางมัด 3 นิ้ว ราคา/ห่อ 300 บาท (ลังละ 25 มัด)






สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อ  


โทร  083-2959695

CR. http://www.yangparatrang.com/2012/07/blog-post_20.html

โรคยางพารา

โรคยางพาราที่เกิดจากเชื้อ

1.โรคใบ

  1. โรคใบจุดตานก
  2. โรคใบจุดคอลเลโทตริกัม
  3. โรคใบจุดก้างปลา
  4. โรคราแป้ง
  5. โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า

2.โรคกิ่งก้าน และลำต้น

  1. โรครากขาว
  2. โรครากแดง
  3. โรครากน้ำตาล
Cr. http://www.yangparatrang.com/2012/05/blog-post_2822.html

การผลิตและการใช้ยางของจีน

การผลิตและการใช้ยางของจีน
        สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศผู้ผลิตยางอันดับ 5 ของโลกในปี 2547 มีพื้นที่ปลูกยาง 660,000 เฮกตาร์ ผลิตยางได้ประมาณ 600,000 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย ทั้งประเทศเป็น 1,400 ตันต่อเฮกตาร์ หรือประมาณ 220 กิโลกรัมต่อไร่ พื้นที่ปลูกยางส่วนใหญ่ร้อยละ 65 เป็นสวนยางของรัฐ พื้นที่ปลูกยางของจีนมีอยู่ใน 5 มณฑลคือ มณฑลไฺฮนาน มณฑลยูนนาน มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางสี และมณฑลฟูเจี้ยน
จีนมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงมาก ร้อยละ 9-9.5 จึงมีความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น จากข้อมูลที่ได้รับจากผู้บริหารของบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตยางของยูนนาน กล่าวว่าในปี 2547 ปริมาณการใช้ยางของจีนเพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านตันในปี 2545 เป็น 1.8 ล้านตัน ในปี 2547 ต้องนำเข้ายางประมาณ 1.2 ล้านตัน โดยร้อยละ 80 เป็นการนำเข้ายางจากไทย ในขณะที่จีนมีปริมาณการผลิตยางของประเทศ
ประมาณ 600,000 ตัน อุตสาหกรรมยางยานพาหนะของจีนเป็นภาคที่ใช้ยางธรรมชาติมากที่สุดถึงร้อยละ 55 ของปริมาณยางธรรมชาติที่ใช้ในประเทศทั้งหมด มีโรงงานผลิตยางรถยนต์ขนาดใหญ่ ในจีนกว่า 20 บริษัท มีทั้งที่เป็นบริษัทข้ามชาติ บริษัทของจีนและการร่วมลงทุนของบริษัทยางรถยนต์ต่างชาติกับบริษัทยางของ จีน อุตสาหกรรมรถยนต์ของจีนขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2545 ที่ผลิตรถยนต์ได้ 3.2 ล้านคัน เพิ่มเป็นประมาณ 5 ล้านคันค่อปี แต่คาดว่าในปัจจุบันที่ภาวะน้ำมันสูงขึ้นในอนาคตกำลังการผลิตรถยนต์จะลดลง เหลือ 1 ล้านคันต่อปี เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางเป็นอุตสาหกรรมที่ทำให้เศรษฐกิจของจีนขยาย ตัวอย่างรวดเร็ว จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ความต้องการใช้ยางของจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนมีการคาดการณ์ว่าในปี 2563 จีนจะใช้ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์รวมทั้งสิ้น 7.3 ล้านตัน และการใช้ยางของจีนจะเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของการใช้ยางทั้งหมดของโลก แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวยต่อการปลูกยางของจีน ปัญหาจากลมไต้ฝุ่น อากาศหนาวเย็นและความแห้งแล้ง ทำให้จีนไม่สามารถขยายพื้่นที่ปลูกยางในประเทศได้ รัฐบาลจีนมีนโยบายเพิ่มพื้นที่ปลูกยางในประเทศเพื่อนบ้านอีก 10,000 เฮกตาร์ หรือ 625,000 ไร่ ในประเทศลาว ประเทศพม่า และประเทศกัมพูชา ปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ปลูกยาง 100 เฮกตาร์ หรือ 625 ไร่ ทางตอนเหนือของลาว 3 จังหวัด สวนยางเปิดกรีดแล้ว 4 ปี ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัทอุตสหกรรมยางธรรมชาติของยูนนาน และบริษัทมีนโยบายลงทุน 10 ล้านหยวนหรือ 55 ล้านบาท เืพื่อพัฒนาโครงการผลิตยางในลาวในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย
ในภาวะที่ราคายางสูงขึ้นเกษตรกรหันมาปลูกยางมากขึ้น โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการโค่นต้นยางและปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนในช่วงที่ราคา ยางตกต่ำ อย่างไรก็ตามไฮนานยังมีพื้นที่ที่จะขยายการปลูกยางได้อีกประมาณ 300,000 ไร่ แต่เนื่องจากไฮนานอยุ่ในเขตที่มีสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกยาง ดังนั้นความสามารถในการเพิ่มผลผลิตคงเป็นไปได้ค่อนข้างจำกัด

Cr http://www.yangparatrang.com/2012/09/blog-post.html

อนาคตยางพาราไทย ภายใต้ AEC เลิกกองทุนสงเคราะห์สวนยาง ?

ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการศูนย์ศึกษา การค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอ การค้าไทยได้เสนอแนะนโยบายเร่งด่วนเพื่อพัฒนายางพาราไทย ภายใต้ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนและอาเซียน +3 (เกาหลี ใต้ ญี่ปุ่น และจีน) โดยให้ไทยเป็นศูนย์ กลางยางพารา (HUB) เนื่องจากว่าไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ซึ่งเป็นจุดแข็งในการสร้างอำนาจ ต่อรองและเป็นผู้กำหนดราคา อีกทั้งยังจะทำให้ไทยเป็นศูนย์ กลางในการผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำของยางพาราและอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม จากการแปรรูปยางพาราอีกทางหนึ่งด้วย รัฐต้องปล่อยให้ราคายางเป็นไปตามกลไกตลาดไม่แทรกแซง แต่ควรหันไปส่งเสริมอุตสาหกรรมปลายน้ำและการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ยาง ต่างๆเพื่อช่วยแก้ปัญหาทั้งราคาและการพึ่งพิงตลาดต่างประเทศ อีกทั้งจะต้องเร่งการจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทย ด้วยการยก ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยให้ยกเลิกกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง และองค์การสวนยางและให้จัดตั้ง การยางแห่งประเทศไทย เพื่อทาหน้าที่บริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร

อีกส่วนหนึ่งคือต้องเร่งพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือ AFET ให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นแหล่งรองรับสินค้าในราคายุติธรรม สร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับเกษตรกร และรัฐควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหาตลาดใหม่ๆ เพิ่มเติมเช่นตลาดในกลุ่ม BRIC (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน) ซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างสัดส่วนการใช้ประโยชน์ในประเทศให้สูง ขึ้น ด้วยการลงทุนวิจัยเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพ การแข่งขันให้เกิดการใช้ยางในประเทศ เพิ่มขึ้น ลดความเสี่ยงในการส่งออก คิด ค้นและพัฒนาผลผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้น เช่น การพัฒนาวัตถุดิบ ยางไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ซึ่งเป็นนวัตกรรม แบบก้าวกระโดด (Radical Innovation) เช่น อุตสาหกรรมเครื่องสาอางจากสารสกัดเปลือกไม้ยางพารา เป็นต้น

ปัจจุบันจีนนับเป็นประเทศผู้ใช้ยางพารารายใหญ่ที่สุดในโลก เฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมาคิดเป็นร้อยละ 32.23 ของปริมาณการใช้ยางพาราของทั้งโลก 60% เป็นการ ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ปี 2553 จีนผลิตรถยนต์ 18.26 ล้านคัน ปี 2554 ผลิต รถยนต์ 18.42 ล้านคันเป็นอันดับ 1 ของโลก มณฑลที่นำเข้ายางพารามากที่สุดคือ ชานตง ซึ่งเป็นศูนย์กลางผลิตยางรถ ยนต์และอุตสาหกรรมแปรรูปยางที่สำคัญของจีน

ขณะที่พื้นที่ปลูกยางของไทยอินโดนีเซียและมาเลเซียมีมากกว่า 60% ของ โลก แต่ปัจจุบันพื้นที่ปลูกยางมาเลเซียลดลงเพราะหันไปปลูกปาล์มแทน ถึงกระนั้นตั้งแต่ปี 2549-2554 พื้นที่ปลูกยางโลกก็เพิ่มขึ้น 14.26% เฉลี่ยปีละ 2.71% กลุ่มการศึกษายางระหว่างประเทศ (International Rubber Study Group : IRSG) ศึกษาพบว่าในอนาคตประเทศผู้ผลิตยาง ไทยและมาเลเซียสนใจปลูกยางในประเทศ อื่น เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เพราะที่ดินใน ประเทศไม่เพียงพอ

ที่มา : สยามธุรกิจ

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ครีมหน้าใสจากยางพารา นวัตกรรม จากม.อ.หาดใหญ่

อนาคตชาวสวนมีเฮ ครีมหน้าใสจากยางพารา นวัตกรรม จากม.อ.หาดใหญ่

          

     เชื่อมั้ยว่า…ยางพาราจะทำให้หน้าขาวได้ หลายคนอาจสงสัยยางพาราจะไปเกี่ยวข้องกับความงามได้อย่างไร
     ในภาวะเศรษฐกิจโลกที่ทั่วโลกได้รับผลกระทบกันอย่างหนัก ยางพาราราคาตกไปกว่าครึ่ง ชาวสวนยางต้องร้องครวญกับราคายางที่ร่วงและอนาคตที่ดูมืดมน บัดนี้น้ำยางพารามีมูลค่าเพิ่มขึ้นหลายร้อยเท่า เพราะยางพารากลายเป็นพืชแห่งความงามไปแล้วจากงานวิจัยของอาจารย์จากม.อ.หาดใหญ่ทำให้งานวิจัยไม่ตั้งอยู่เฉพาะบนหิ้งอีกต่อไป
     รศ.ดร.รพีพรรณ วิทิตสุวรรณกุล ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์    เมธีวิจัยอาวุโส(สกว.) (เมธีวิจัยอาวุโส สกว. คือ ผู้ที่ได้รับ “ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย” จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เพื่อสนับสนุนนักวิจัยอาวุโสให้สร้างนักวิจัยใหม่ที่มีความสามารถทางวิชาการสูง และเพื่อเป็นเกียรติแก่นักวิจัยในฐานะที่สร้างผลงานดีเด่น โดยเริ่มให้ทุนวิจัยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นเมธีวิจัยอาวุโส สกว. จะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) เจ้าของสิทธิบัตรครีมเสริมสุขภาพผิวจากยางพารา เปิดเผยว่า
    “จากการศึกษาและวิจัยยางพารามากว่า 20 ปี สังเกตเห็นว่า ยางพารา เป็นพืชที่ถูกคุกคามโดยการทำให้เกิดบาดแผลจากการกรีดแทบทุกวัน การที่เรากรีดเปลือกยางเพื่อเอาน้ำยาง ทำให้ต้นยางเป็นแผลและมีจุลินทรีย์เข้าไปรบกวน ต้นยางจึงสร้างสารต่อสู้จุลินทรีย์และหลั่งออกมาในน้ำยางด้วย และสร้างสารพฤกษเคมีขึ้นเพื่อรักษาบาดแผลและสร้างเนื้อเยื่อใหม่แทนบาดแผลที่โดนกรีด และสังเกตเห็นคนงานในโรงงานยางพารา ส่วนใหญ่ล้วนมีผิวพรรณที่มีสุขภาพดี จึงเกิดความคิดที่จะศึกษาวิจัยความพิเศษของสารในน้ำยาง”
    โดยผลจากการวิจัยร่วมกันหลายฝ่ายจากนักศึกษาปริญญาเอกและนักวิจัยอื่นๆพบว่าน้ำยางสดเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารพฤกษเคมีนานาชนิดซึ่งในน้ำยางพารานั้นมีส่วนประกอบของสารโปรตีเอสอินฮิบิเตอร์, แอนติออกซิแดนท์ 2-3 ประเภท, น้ำตาลแอลกอฮอล์ที่เป็นตัวสร้างความชุ่มชื้น และสารแอลฟาไฮดรอกซิเอซีฟ (เอ เอช เอ) ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์และมักใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ความงามหลายชนิด จึงสกัดสารเหล่านี้ออกมาแล้วส่งไปให้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติพัฒนาเป็นครีมและทำการทดลองในคน ส่วนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวรทำการพัฒนาเกี่ยวกับการส่งสารเข้าสู่ผิวและทดลองในคน ซึ่งจากการวิจัยพบว่า ผู้ที่ใช้ครีมมีใบหน้าที่ขาวและเรียบเนียนขึ้นภายใน 6-8 สัปดาห์ อีกทั้งไม่พบอาการแพ้ใด ๆ นอกจากนี้ยางพารายังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงมาก
     ทางด้านเงินทุนได้รับการสนับสนุนทุนในการวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย(TCELS) จำนวน 5 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการวิจัยครีมหน้าขาวจากน้ำยางพารา โดยใช้ระยะเวลาในการค้นคว้า วิจัย และปรับปรุงผลิตภัณฑ์เป็นเวลา 3 ปี
     สำหรับผลการทดลองในห้องแล็บนั้น ดร.รพีพรรณ เปิดเผยว่า สามารถเชื่อถือได้ในระดับหนึ่งคือ สารสกัดจากยางพารามีสารต้านไม่ทำให้เกิดสีผิวเข้ม ซึ่งกระบวนการที่จะทำให้สีผิวเข้มนั้นมี 2 กระบวนการ โดยสารที่สกัดมาสามารถยับยั้งได้ คือ 1.การยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสี2.ไม่ให้เกิดการขนถ่ายของเม็ดสี เนื่องจากเห็นว่าสารสกัดจากธรรมชาตินั้นไม่ก่อให้เกิดพิษไม่เหมือนกับสารสกัดอื่นๆ
    “อย่างที่มีข่าวว่า “ไฮโดรควิโนน” เป็นสารพิษที่ทำให้เกิดใบหน้าด่างขาวมากไป มีพิษต่อเซลล์ แต่ถ้าหากใช้สารจากธรรมชาติโดยปกติจะไม่มีพิษหรือน้อยมาก ถ้าไม่ใช้ในปริมาณมาก หรือความเป็นกรดอย่างแรงก็จะไม่เป็นพิษ ส่วนผลข้างเคียงนั้น จากการทดลองกับสัตว์อื่นที่นอกจากหมูพื้นเมืองที่มีผิวคล้ายมนุษย์มากที่สุดแล้วพบว่าไม่เกิดการแพ้ใดๆ อย่างในการทดลองกับกระต่ายที่มีผิวแพ้ง่าย ก็ไม่เกิดการแพ้ ในหนูเมื่อให้รับประทานก็ไม่ตาย จึงเชื่อว่าผลข้างเคียงที่จะทำให้เกิดการแพ้นั้นน่าจะไม่เกิดขึ้น ส่วนระยะเวลาที่จะเห็นผลจากการทดลองกับสัตว์ ใน 8 สัปดาห์ก็สามารถเห็นผลได้ชัดเจนแล้ว แต่ในมนุษย์นั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับเซลล์ผิวของแต่ละบุคคลซึ่งต่างกัน ในคนผิวขาวซึ่งมีเม็ดสีน้อยก็จะได้ผลเร็วกว่าผู้ที่มีสีผิวคล้ำ ระยะเวลาจึงไม่แน่นอนซึ่งต้องพิสูจน์ต่อไป”
     จากการวิจัยสารสกัดที่อยู่ในน้ำยางพาราพบว่ามีกลุ่มสารที่เหมาะสำหรับนำไปใช้ทำเครื่องสำอางเพื่อเสริมหรือรักษาสุขภาพผิวพรรณให้ขาวใส เนียน และเต่งตึงขึ้น ได้แก่
1.สารต้านกิจกรรมการขนถ่ายเม็ดสีจากเซลล์สร้างเม็ดสี ไปยังเซลล์ผิว ทำให้ผิวขาวขึ้นเพราะเซลล์ผิวมีปริมาณเม็ดสีน้อยลง
2.สารแอนตี้ออกซิแด้นท์ ชนิดที่นอกจากจะสามารถทำลายฤทธิ์สารอนุมูลอิสระของออกซิเจน ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสื่อมสภาพของเซลล์ผิวหนัง ทำให้เหี่ยวย่นและมีริ้วรอยแล้ว ยังสามารถส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการสร้างเม็ดสีพีโอเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีหลักสำหรับผิวฝรั่ง และการลดลงของกิจกรรมการสร้างเม็ดสียูเมลานิน ซึ่งเป็นเม็ดสีหลักของคนผิวเอเชียและนิโกร
3.สารซูเปอร์แอนตี้ออกซิแด้นท์ ที่สามารถทำลายทั้งฤทธิ์ของอนุมูลอิสระของออกซิเจน และอนุมูลอิสระของไนโตรเจน รวมทั้งสามารถต้านกิจกรรมการกระตุ้นการสร้างสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ของเซลล์ผิวหนังเมื่อได้รับรังสียูวีจากแสงแดด ได้อีกด้วย ส่งผลยับยั้งการเกิดริ้วรอยและเสื่อมสภาพของผิวหนัง
4.สารน้ำตาลแอลกอฮอล์ น้ำตาลซูโครส, ฟรุคโตส และกรดอะมิโนที่สามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังให้ดูเต่งตึงขึ้น
5.สารแอลฟาและเบต้าไฮดรอกซีแอซิด ที่สามารถช่วยเอื้อต่อการหลุดลอกของเซลล์ผิวที่ตายแล้วบนผิวชั้นนอกให้ง่ายขึ้น โดยสารเบต้าไฮดรอกซิแอซิดสามารถแทรกซึมเข้าไปออกฤทธิ์ในระดับรูขุมขนพร้อมทั้งสามารถป้องกันเซลล์ผิวจากการแผดเผาด้วยรังสียูวีบีได้ด้วย ส่งผลกระตุ้นการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิวใหม่ ทำให้ผิวหน้าแลดูเนียนและสดใสขึ้น
6. สารอาหารกรดอะมิโน 17 ชนิดรวมทั้งชนิดที่ใช้สำหรับสร้างโปรตีนคีราติน และคอลลาเจนเพื่อสุขภาพของที่ดีของเซลล์ผิว
7. สารอาหารแร่ธาตุสำคัญปริมาณน้อย จำพวก สังกะสี, โครเมียม, ทองแดง, แมงกานีส และซีเลเนียมที่เอื้อต่อกระบวนการปรับปรุงสุขภาพผิว
โดยสารสกัดที่เตรียมได้จากซีรั่มน้ำยางพารา (Hevea brasilensis) หรือสารสกัดเอชบีดังกล่าว พบว่ามีเอกลักษณ์โปรตอนเอ็นเอ็มอาร์สเปกตรัมเฉพาะตัว มีคุณสมบัติที่ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง หรืออาการแพ้ต่อผิวหนังในระดับสัตว์ทดลองตามวิธีมาตรฐาน OECD มีระดับการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน FDA และจากข้อมูลผลประเมินที่รวบรวมได้จากอาสาสมัคร พบว่าครีมเบสที่ประกอบด้วยสารสกัดเฮชบี 5 กรัม % สามารถปรับปรุงรักษาสุขภาพผิวหน้าของอาสาสมัครได้เป็นอย่างดี
โดยหลังการทาครีมเฮชบี ไปได้ 9 สัปดาห์ ในกลุ่มอาสาสมัครที่หน้าเป็นฝ้า 64 คน พบว่า มีจำนวนที่มีหน้าขาวขึ้น 98.4%, ฝ้าจางลง 96.8%, หน้าเรียบเนียนขึ้น 92.2% และ ความมันบนใบหน้าลดลง 53.1% และในกลุ่มอาสาสมัครที่หน้าเป็นสิว 36 คน พบว่า มีจำนวนที่มีการอักเสบของสิวลดลง 100%, ปริมาณสิวลดลง 100% , ความมันบนใบหน้าลดลง 88.9% และ รอยด่างดำจากสิวลดลง 86.1%
ขณะเดียวกันนอกเหนือจากคุณสมบัติในการรักษาใบหน้าที่หมองคล้ำแล้ว ยังอาจใช้ร่วมกับส่วนอื่นๆของร่างกายได้ด้วย โดย ดร.รพีพรรณ ระบุว่า
“เราอาจใช้ร่วมกับส่วนอื่นๆได้ แต่โดยเบื้องต้นเราทำออกมาเป็นครีมทาหน้า ซึ่งต่อไปก็อาจเป็นสบู่ และอื่นๆ คือสามารถใช้ได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่ก็ต้องทำการทดลองต่อไปอีกเป็นแผนที่เราจะดำเนินต่อไปจากนี้“
“ประเทศไทยมียางพาราจำนวนมากและส่งออกไปทั่วโลก ทั้งนโยบายรัฐบาลยังส่งเสริมการปลูกยางพาราในหลายๆพื้นที่ ทำให้เรามีวัตถุดิบในด้านนี้เหลือเฟือ ขณะเดียวกันการค้นพบตรงนี้ยังช่วยต่อยอดศักยภาพของผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี ตอนนี้ผลิตตามความต้องการของลูกค้า หลังจากได้รับหมายเลขในการจดสิทธิบัตรประมาณเดือนมีนาคมนี้จึงจะผลิตในระดับอุตสาหกรรมเพื่อจัดจำหน่ายต่อไป ซึ่งเจ้าของคือทางม.อ.และTCELS จะตกลงกันว่าจะขายสิทธิบัตรให้บริษัทไหนไปผลิต ในอนาคตอยากขายสารสกัดมากกว่าเพราะสามารถส่งออกและขยายตลาดได้ทั่วโลก ”ดร.รพีพรรณเอ่ยถึงการดำเนินงาน
ในด้านการส่งเสริมให้ชาวสวนมีรายได้เพิ่มจากการวิจัยนี้ รศ.ดร.รพีพรรณกล่าวว่า ต้องมองในภาพรวมเพราะต้องมีการพัฒนาไปถึงระดับที่เอกชนสามารถทำเองได้ ต้องมีการอบรมและการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการจะเอาสารสกัดหรือเซรั่มที่บริสุทธิ์เพราะนำมาให้กับใบหน้า ชาวสวนก็จะมีรายได้เพิ่มจากส่วนที่ไม่ใช่ยางหรือน้ำยางโดยเอาส่วนที่เป็นสารสกัดมาขายได้ภายใต้สถานการณ์การควบคุมคุณภาพจากบริษัทผู้ผลิต
“อยากให้เด็กรุ่นใหม่คิดค้นทดลองและเข้ามาสู่งานวิจัยกันมากขึ้น จากการที่เราขายยางไปอย่างเดียวแล้วต่างประเทศคิดค้นผลิตภัณฑ์ จดสิทธิบัตรนำสินค้ากลับเข้ามาขายเราในราคาแพง เราต้องคิดต่างออกไป และยังหวังว่าเด็กไทยยังมีความสามารถอีกมากและควรใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้” เมธีวิจัยอาวุโสกล่าวปิดท้าย
ครีมหน้าใสยางพารา (Hb Brightening Cream) มีวิธีใช้คือ หลังการทำความสะอาด ทาครีมลงบนผิวหน้าและลำคอเพียงบางๆ ทุกเช้าและเย็นหรือบ่อยครั้งตามที่ต้องการ ควรเก็บครีมไว้ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีและไม่โดนแสงแดดหรือเก็บไว้ในตู้เย็น ก่อนใช้ควรทดลองทาบางๆ ใต้ท้องแขนและทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง หากเกิดการระคายเคืองควรระงับการใช้
ปัจจุบันตลาดครีมหน้าขาวกำลังได้รับความนิยม โดยพบว่าในประเทศไทยมีมูลค่าประมาณปีละ 25,000 ล้านบาท ดังนั้นการค้นพบสารสกัดจากน้ำยางพาราที่มีคุณสมบัติลดความเข้มข้นของสีผิว จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพยางพาราเพื่อการใช้ประโยชน์ที่หลากหลายได้อีกระดับหนึ่ง และเป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศด้วย
ที่มา : สำนักข่าวมุสลิมไทย

กระบวนการผลิตแผ่นยางพารา

การทำยางแผ่นคุณภาพดี

ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำส้มฆ่ายาง

น้ำส้มฆ่ายาง(ชีวภาพ)

     สำหรับน้ำส้มฆ่ายางชีวภาพระยะหลังๆวงการเกษตรเกิดกระแสการใช้สารสกัดจากธรรมชาติได้รับความนิยมมากขึ้น (แต่ก็ยังถือว่าน้อยอยู่ ) โดยเฉพาะปุ๋ยหมักและน้ำหมักที่สามารถทำเองได้ไม่ต้องซื้อหา รวมไปถึงชาวสวนยางก็สามารถนำกลุ่มสารชีวภาพเหล่านี้(เช่น น้ำส้มควันไม้,น้ำหมักกล้วย เป็นต้น)มาแทนน้ำส้มฆ่ายาง (กรดฟอร์มิก) ในการทำยางก้อนถ้วย ที่มีผลกระทบกับคนและต้นยาง แต่ข้อมูล (จากหลายแหล่ง) มาว่า น้ำชีวภาพที่นำมาใช้ทำยางก้อนถ้วย จะทำให้ยางเสื่อมสภาพลงและจะสงผลต่อการนำไปแปรรูป เช่น เอาไปทำยางรถยนต์ไม่ได้ เป็นต้น ทำให้พ่อค้ากดราคาขี้ยาง สหกรณ์ต่างๆและ อสย. ยังไม่รับซื้อ



กรดที่นำมาทำใช้ทำน้ำส้มฆ่ายาง

กรดทุกชนิดให้ประจุบวกจากธาตุ H (ไฮโดรเย่น) ที่มีอยู่ในกรด
ประจุบวกในกรดจะทำให้อนุภาคของเนื้อยาง (Rubber Particle) ที่ลอยอยู่ในน้ำยางจับตัวกันเป็นก้อน คนจึงนิยมใช้

1.กรดซัลฟูริคที่ใช้กับหม้อแบเตอรี่ตะกั่วเป็นกรดอนินทรีย์ กรดนี้ใช้แต่น้อย ราคาถูก เมื่อทำแผ่นแล้วต้องล้างน้ำ และไม่ให้ใส่เกินความจำเป็นที่ใช้จับอนุภาคยาง

2.กรดฟอร์มิค เป็นเป็นกรดอินทรีย์ที่เรานำเข้าจากต่างประเทศราคาแพง ต้องใช้มากกว่ากรด ซัลฟูริด ไส่มากไปนิดหน่อยก็ไม่ทำให้ยางเปื่อย กรดนี้จึงนิยมใช้กัน

3.กรด อาซีติกหรือกรดน้ำส้ม ใช้ได้เหมือนกรด ฟอร์มิคเพราะเป็นกรดอินทรีย์เหมือนกัน
4.กรดมะนาวหรือกรด ซิตริด กรดนี้ใช้กันน้อยเพราะมีราคาแพง ถ้าทำเองจากส้มจะไม่ค่อยคงตัว

กรดที่ใส่ลงไปในน้ำยางจะต้อง-ใส สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรก-สีเจือปน เช่นเนื้อกล้วย น้ำมันดินในน้ำส้มควันไม้ สีดำในน้ำส้มที่โดนแสงแดด ฯลฯ

ดังนั้นน้ำหมักทั้งหลายถ้าทำให้ ใสสะอาดเช่นกรองให้ดี ไม่มีสารบูดเน่าปน มีค่า ความเป็นกรดคงที่ แล้วใช้ ก็ไม่มีปัญหาในเรื่องคุณภาพยาง


วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปสถานการณ์ยาง



สรุปสถานการณ์ยาง
ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2556
 

วันที่
ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3
(บาท/ก.ก.)
ราคายางแผ่นรมควัน ชั้น 3
(บาท/ก.ก.)
กทม.
(บาท/ก.ก.)
หาดใหญ
สุราษฎร์ฯ
นครศรีฯ
กทม.
(FOB)
หาดใหญ
(FOB) ่
โตเกียว
(C&F)
สิงค์โปร์
(FOB)
ยางแท่ง
(FOB)
น้ำยางข้น
(FOB)
1/2/56
86.68
85.59
86.29
97.35
97.10
99.11
101.34
90.00
59.15
4/2/56
87.87
87.39
87.07
99.35
99.10
101.28
100.54
92.00
60.15
5/2/56
87.67
86.89
87.18
99.60
99.35
101.09
100.04
92.25
60.15
6/2/56
87.75
86.86
87.22
99.85
99.60
100.07
99.20
92.50
60.65
7/2/56
86.90
86.29
86.76
99.10
98.85
100.23
98.69
92.30
60.45
8/2/56
86.28
86.42
0.00
98.60
98.35
99.35
97.51
92.30
60.20
11/2/56
84.29
86.06
86.19
97.80
97.55
0.00
0.00
91.80
59.90
12/2/56
85.98
86.62
86.02
98.30
98.05
0.00
0.00
91.80
60.65
ค่าเฉลี่ย
86.68
86.52
86.68
98.74
98.49
100.19
99.55
91.87
60.16


ที่มา :
ฝ่ายพัฒนาสวนสงเคราะห์ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กรุงเทพ ฯ
 
ยางแผ่นรมควันชั้น 3 FOB ส่งมอบล่วงหน้า 2 เดือน
 
ยางแท่งและน้ำยางข้น FOB ส่งมอบล่วงหน้า 1 เดือน