ผลสรุปของการทดลองการใช้สารสกัดจากธรรมชาติเเทนน้ำส้มฆ่ายาง


                                                                                                                          

 ตารางบันทึกผลการทดลอง   
                                                                                                   
 ตารางที่ 1   ***การเปลี่ยนแปลงของน้ำยางเมื่อนำมาทดลองกับน้ำที่คั่นจากใบเงาะ***
//ป                      ที่ทำการทดลอง
เวลาที่ใช้ในการสังเกตการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงของน้ำยาง


-
เมื่อเติมน้ำที่คั่นจากใบเงาะลงไปในน้ำยางที่เตรียมไว้และคนให้ทั่ว น้ำยางจะมีสีเขียวและน้ำยางยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง




นาที
-น้ำยางมีความข้นเล็กน้อย
-น้ำยางเป็นสีเขียว                                             
-ไม่มีกลิ่นฉุน


10  นาที
-น้ำยางมีความข้นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
-น้ำยางเป็นสีเขียว                                            
-ไม่มีกลิ่นฉุนจากใบเงาะ
4 ธันวาคม 2554

15  นาที
-น้ำยางเริ่มแข็งตัวแต่มีส่วนที่เป็นน้ำมากกว่าส่วนที่เป็นก้อน
-น้ำยางเป็นสีเขียวอ่อน 
-ไม่มีกลิ่นฉุนจากใบเงาะ


20  นาที
-น้ำยางเริ่มแข็งตัวเป็นก้อนมากกว่าส่วนที่เป็นน้ำ
-น้ำยางเป็นสีขาวปะปนกับสีเขียวเล็กน้อย
-ไม่มีกลิ่นฉุนจากใบเงาะ


25  นาที
-น้ำยางแข็งตัวเป็นก้อนทั้งหมดโดยมีน้ำสีเขียวๆใสๆหลงเหลืออยู่
-น้ำยางสีขาวปะปนกับสีเขียวเล็กน้อย
-ไม่มีกลิ่นฉุนจากใบเงาะ


ตารางที่ 2    ***การเปลี่ยนแปลงของน้ำยางเมื่อนำมาทดลองกับน้ำส้มตะโนด***
//ป                      ที่ทำการทดลอง
เวลาที่ใช้ในการสังเกตการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงของน้ำยาง


-
เมื่อเติมน้ำส้มตะโนดลงไปในน้ำยางที่เตรียมไว้และคนให้ทั่ว น้ำยางจะมีลักษณะข้นกว่าเดิม  มีสีน้ำตาลอ่อนๆ มีกลิ่นฉุนจากน้ำส้มตะโนดเล็กน้อย




นาที
-น้ำยางข้นกว่าเดิมมาก
-น้ำยางเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ
-มีกลิ่นฉุนจากน้ำส้มตะโนดเล็กน้อย
4 ธันวาคม 2554

10  นาที
-น้ำยางเริ่มแข็งตัวเป็นก้อนมากกว่าส่วนที่เป็นน้ำ
-น้ำยางเริ่มเป็นสีขาวแต่ก็ยังมีสีน้ำตาลอ่อนๆอยู่เล็กน้อย
-มีกลิ่นฉุนจากน้ำส้มตะโนดมากกว่าเดิม


15  นาที
-น้ำยางแข็งตัวเป็นก้อนทั้งหมดและมีน้ำใสๆหลงเหลืออยู่
-น้ำยางมีสีขาวและมีสีน้ำตาลอ่อนๆปะปนเล็กน้อย
-มีกลิ่นฉุนจากน้ำส้มตะโนดมาก                                        

























สรุปผลการทดลอง
1.อภิปลายผลการทดลอง
ในการทำให้น้ำยางแข็งตัวโดยการใช้น้ำที่คั่นจากใบเงาะและน้ำส้มตะโนดมีผลดังนี้
1.1.น้ำที่คั่นจากใบเงาะทำให้น้ำยางเป็นดังนี้
          1.1.1.น้ำยางแข็งตัวช้ากว่าน้ำส้มตะโนดแต่ก็มีลักษณะใกล้เคียงกับการใช้น้ำส้มฆ่ายาง
          1.1.2.น้ำยางที่แข็งตัวมีสีขาวปะปนกับสีเขียวเล็กน้อย
          1.1.3.ไม่มีกลิ่นฉุนจากใบเงาะ
           1.2.น้ำส้มตะโนดทำให้น้ำยางเป็นดังนี้
                      1.2.1.น้ำยางแข็งตัวโดยมีลักษณะใกล้เคียงกับการใช้น้ำส้มฆ่ายาง
                     1.2.2.น้ำยางมีสีขาวและมีสีน้ำตาลอ่อนๆปะปนเล็กน้อย
         1.2.3.มีกลิ่นฉุนจากน้ำส้มตะโนดมาก                                        
2.สรุปผลการทดลอง
จากการทดลองสรุปได้ว่าน้ำส้มตะโนดจะทำให้น้ำยางแข็งตัวได้เร็วกว่าน้ำที่คั่นจากใบเงาะประมาณ   10   นาที  น้ำยางที่แข็งตัวโดยการใช้น้ำส้มตะโนดจะมีกลิ่นฉุนมากแต่  น้ำยางที่แข็งตัวโดยการใช้ น้ำที่คั่นจากใบเงาะจะไม่มีกลิ่นฉุนและประสิทธิภาพ        ของน้ำยางที่แข็งตัวเหมือนกันโดยมีลักษณะใกล้เคียงกับการใช้น้ำส้มฆ่ายาง
             การทดลองของโครงงานนี้พบว่าเราสามารถนำน้ำส้มตะโนดและน้ำที่คั่นจากใบเงาะ มาใช้แทนน้ำส้มฆ่ายางได้แม้ว่าการใช้น้ำที่คั่นจากใบเงาะจะทำให้น้ำยางแข็งตัวช้ากว่าการใช้น้ำส้มตะโนดแต่ประสิทธิภาพของน้ำยางที่แข็งตัวนั่นเหมือนกันซึ่งจะเป็นผลดีแก่เกษตรกรชาวสวนยางในเรื่องต้นทุนการผลิตและลดความเสี่ยงจากการใช้น้ำส้มฆ่ายาง

      
 น้ำส้มตะโนด
              
      


 น้ำที่คั่นจากใบเงาะ                                     
3.ข้อเสนอแนะ
***แม้ว่าน้ำส้มตะโนดและน้ำที่คั่นจากใบเงาะมาใช้แทนน้ำส้มฆ่ายางได้ซึ่งจะได้ประสิทธิภาพของน้ำยางที่แข็งตัวเหมือนกัน แต่ขอแนะนำให้ใช้น้ำที่คั่นจากใบเงาะเพราะสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นของเรา***




1 ความคิดเห็น:

  1. เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก
    เพราะในฐานะของชาวเกษตรสวนยางพารา ก็ต้องการจะลดต้นทุนเหมือนกัน
    มีอะไรจะแนะนำก็โปรดเข้าไปบอกได้นะครับที่

    http://para-buy.blogspot.com

    ตอบลบ