วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อมูลเกี่ยวกับน้ำส้มฆ่ายาง

น้ำส้มฆ่ายาง(ชีวภาพ)

     สำหรับน้ำส้มฆ่ายางชีวภาพระยะหลังๆวงการเกษตรเกิดกระแสการใช้สารสกัดจากธรรมชาติได้รับความนิยมมากขึ้น (แต่ก็ยังถือว่าน้อยอยู่ ) โดยเฉพาะปุ๋ยหมักและน้ำหมักที่สามารถทำเองได้ไม่ต้องซื้อหา รวมไปถึงชาวสวนยางก็สามารถนำกลุ่มสารชีวภาพเหล่านี้(เช่น น้ำส้มควันไม้,น้ำหมักกล้วย เป็นต้น)มาแทนน้ำส้มฆ่ายาง (กรดฟอร์มิก) ในการทำยางก้อนถ้วย ที่มีผลกระทบกับคนและต้นยาง แต่ข้อมูล (จากหลายแหล่ง) มาว่า น้ำชีวภาพที่นำมาใช้ทำยางก้อนถ้วย จะทำให้ยางเสื่อมสภาพลงและจะสงผลต่อการนำไปแปรรูป เช่น เอาไปทำยางรถยนต์ไม่ได้ เป็นต้น ทำให้พ่อค้ากดราคาขี้ยาง สหกรณ์ต่างๆและ อสย. ยังไม่รับซื้อ



กรดที่นำมาทำใช้ทำน้ำส้มฆ่ายาง

กรดทุกชนิดให้ประจุบวกจากธาตุ H (ไฮโดรเย่น) ที่มีอยู่ในกรด
ประจุบวกในกรดจะทำให้อนุภาคของเนื้อยาง (Rubber Particle) ที่ลอยอยู่ในน้ำยางจับตัวกันเป็นก้อน คนจึงนิยมใช้

1.กรดซัลฟูริคที่ใช้กับหม้อแบเตอรี่ตะกั่วเป็นกรดอนินทรีย์ กรดนี้ใช้แต่น้อย ราคาถูก เมื่อทำแผ่นแล้วต้องล้างน้ำ และไม่ให้ใส่เกินความจำเป็นที่ใช้จับอนุภาคยาง

2.กรดฟอร์มิค เป็นเป็นกรดอินทรีย์ที่เรานำเข้าจากต่างประเทศราคาแพง ต้องใช้มากกว่ากรด ซัลฟูริด ไส่มากไปนิดหน่อยก็ไม่ทำให้ยางเปื่อย กรดนี้จึงนิยมใช้กัน

3.กรด อาซีติกหรือกรดน้ำส้ม ใช้ได้เหมือนกรด ฟอร์มิคเพราะเป็นกรดอินทรีย์เหมือนกัน
4.กรดมะนาวหรือกรด ซิตริด กรดนี้ใช้กันน้อยเพราะมีราคาแพง ถ้าทำเองจากส้มจะไม่ค่อยคงตัว

กรดที่ใส่ลงไปในน้ำยางจะต้อง-ใส สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรก-สีเจือปน เช่นเนื้อกล้วย น้ำมันดินในน้ำส้มควันไม้ สีดำในน้ำส้มที่โดนแสงแดด ฯลฯ

ดังนั้นน้ำหมักทั้งหลายถ้าทำให้ ใสสะอาดเช่นกรองให้ดี ไม่มีสารบูดเน่าปน มีค่า ความเป็นกรดคงที่ แล้วใช้ ก็ไม่มีปัญหาในเรื่องคุณภาพยาง